เป้าหมาย (Understanding Goal):เข้าใจความหมายความสำศัญของเวลา รวมทั้งวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงมองเห็นความสัมพันธ์ในด้านต่างๆของแต่ละยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ที่ส่งผลต่อปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งเคารพวิถีและอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างศานติ


week8

เป้าหมายรายสัปดาห์: เข้าใจและสามารถอธิบายการศึกษา  ภาษาไทยในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสามารถออกแบบและวางแผนพัฒนาการศึกษาของตนเองได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
8
29..
- 4 มี.
2559
โจทย์ : การศึกษา  ภาษา
Key  Question
- ทำไมสมัยก่อนผู้หญิงไม่มีสิทธิเรียน?
- การศึกษาของประเทศไทยและต่างประเทศเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรหนังสือ?
เครื่องมือคิด
Round Robin แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการศึกษาในสัมยอดีต
Brainstorms ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบและวางแผนพัฒนาการศึกษาของตนเองใน
Show and Share นำเสนอรูปแบบการ์ตูนช่องการออกแบบและวางแผนพัฒนาการศึกษาของตนเองใน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- อินเตอร์เน็ต
- ดูคลิปการศึกษาไทยในอดีต
- ครูเปิดคลิปวิถีชีวิตของคนไทยในปัจจุบัน-อดีต
- บทความ
- คลิปการศึกษาต่างประเทศ โลก 360 องศาของฟินแลนและเกาหลีใต้
วันจันทร์ 2 ชั่วโมง
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดทำไมสมัยก่อนผู้หญิงไม่มีสิทธิเรียนหนังสือ
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการศึกษาในสมัยก่อน
ชง
ดูคลิปการศึกษาไทยในอดีตให้นักเรียนดูหลังจากดูจบครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนเห็นอะไร  ได้เรียนรู้อะไรและเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับเราอย่างไร?
ใช้
นักเรียนแต่ละคนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงในสมุด
วันอังคาร 2 ชั่วโมง
ชง
- ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นจากข้อความดังต่อไปนี้
1. Malala Yousafzai “เด็ก 1 คน ครู 1 คน หนังสือ 1 เล่ม และปากกาเพียง 1 ด้าม ก็สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ได้
2. Nelson  Mandenla “คิดอย่างไรกับคำพูดที่ว่าการศึกษาคืออาวุธที่สำศัญที่สุดที่จะเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ได้ “
3. Albert Einstein “ การศึกษาไม่ใช่เพียงแค่การเรียนรู้ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นแต่หมายถึงการฝึกฝนหัวสมองเพื่อที่จะคิดให้เป็น
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันอีกครั้ง
ชง
ครูเปิดคลิปวีดีโอดูข่าวที่นี้ Thai PBs “รายการกระเทาะเปลือกการศึกษาไทย
เชื่อม
นักเรียนแต่ละคนวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูคลิป เห็นอะไร  รู้สึกอย่างไร และเกี่ยวข้องกับตัวเองอย่างไร
ใช้
นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูคลิปวีดีโอลงในสมุด
วันพุธ 1 ชั่วโมง
ชง
- ครูเปิดคลิปการศึกษาต่างประเทศ โลก 360 องศาของฟินแลนและเกาหลีใต้ให้นักเรียนดู
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนได้เรียนรู้อะไร การศึกษาของประเทศไทยและต่างประเทศเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
เชื่อม
ครูและนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์พูดคุยสนทนาแสดงความคิดเห็นและสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาของประเทศไทยและต่างประเทศ
ใช้
- นักเรียนออกแบบและวางแผนพัฒนาการศึกษาของตนเองในรูปแบบการ์ตูนช่อง
วันศุกร์ 3 ชั่วโมง
ใช้
นักเรียนแต่ละคนออกแบบและวางแผนพัฒนาการศึกษาของตนเองในรูปแบบการ์ตูนช่อง
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด เช่น
1.นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้และเรียนรู้อย่างไร
2.ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์นี้มีอะไรบ้าง
3.นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
4.นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์นี้
5.นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
6.นักเรียนจะทำอะไรในสัปดาห์ต่อไป
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
ใช้
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ตามเครื่องมือที่ต้องการ      ( Mind Mapping, เขียนบรรยาย,นิทาน,การ์ตูนช่องฯลฯ)
- สมุดบันทึกความรู้สึก

ภาระงาน
- ครูและนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์พูดคุยสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการศึกษาไทยในอดีตและในปัจจุบัน
ชิ้นงาน
- ออกแบบและวางแผนพัฒนาการศึกษาของตนเองในรูปแบบการ์ตูนช่อง
- สมุดบันทึกความรู้สึก
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 8
ความรู้ :
เข้าใจและสามารถอธิบายการศึกษา  ภาษาไทยในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสามารถออกแบบและวางแผนพัฒนาการศึกษาของตนเองได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
เลือกใช้เครื่องมือในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลจากการเรื่องเล่า ข่าว  บทความและสามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
- เข้าใจและมีเป้าหมายในการเรียนรู้สิ่งที่ตนเองรู้โดยให้เหตุผลอ้างอิง เพื่อเลือกหัวข้อที่สนใจในการเรียนรู้ได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวางแผนให้สอดคล้องของเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงาน
สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำการ ออกแบบวางแผนพัฒนาการศึกษาของตนเองในรูปแบบการ์ตูนช่องได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเรียนรู้และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับคนอื่นได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
- มีการจัดลำดับความสำคัญสาเหตุของปัญหาได้อย่างสมเหตุสมผล
- สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะ ICT
- อธิบายและรู้แหล่งที่มาของข้อมูลที่หลากหลาย
- เลือกใช้และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์
ทักษะการเรียนรู้
- วางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- เคารพ สิทธิ หน้าที่เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
- รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น


ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
       




ภาพชิ้นงาน    




      
ภาพกิจกรรม    








1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้พี่ป4 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการศึกษาและภาษาในสมัยอดีตจนถึงปัจจุบันของประเทศไทยรวมทั้งการศึกษาของต่างประเทศ ในชั่วโมงแรกครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดทำไมสมัยก่อนผู้หญิงไม่มีสิทธิเรียน? พี่น้ำอ้อย พี่น้ำมนต์ พี่มิกซ์ พี่แป้ง:เพราะผู้หญิงเป็นเพศที่อ่อนแอเลยให้ดูแลบ้านเรือนแทนค่ะ พี่สุเอก:อาจเป็นเพราะสมัยก่อนผู้ชายต้องออกรบไปต่อสู้ผู้ชายเลยต้องมีความรู้ส่วนผู้หญิงเป็นเพศที่อ่อนแลเลยต้องอยู่บ้านทำงานบ้านครับ พี่บาส:ผมคิดว่าผุ้ชายเป็นผู้ที่แข็งแรงและเป็นผู้นำครับ พี่เฟรม:ผู้หญิงผมยาวเวลาไปต่อสู้ก็จะถูกทำร้ายง่ายครับ พี่ธาม: คนไหนสมัยก่อนคิดว่าถ้าให้ผู้หญิงไปเรียนเวลาเดินทางไปเรียนไกลๆก็จะโดนทำร้ายได้ง่ายครับ หลังจากจบการสนทนาครูเปิดคลิปวีดีโอการศึกษาไทยในสัมยอดีตให้นักเรียนดูหลังจากดูจบครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนเห็นอะไร ได้เรียนรู้อะไรและจะนำไปปรับใช้กับตัวเองอย่างไร? ครูให้นักเรียนแต่ละคนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงในสมุด ในชั่วโมงต่อมาครูครูแบ่งกลุ่มนักเรียน 3 กลุ่มวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นจากข้อความดังต่อไปนี้
    1. Malala Yousafzai “เด็ก 1 คน ครู 1 คน หนังสือ 1 เล่ม และปากกาเพียง 1 ด้าม ก็สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ได้
    2. Nelson Mandenla “คิดอย่างไรกับคำพูดที่ว่าการศึกษาคืออาวุธที่สำศัญที่สุดที่จะเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ได้ “
    3. Albert Einstein “ การศึกษาไม่ใช่เพียงแค่การเรียนรู้ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นแต่หมายถึงการฝึกฝนหัวสมองเพื่อที่จะคิดให้เป็น
    หลังจากที่พูดคุยเสร็จนักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอความคิดเห็นของกลุ่มตัวเองให้ครูและเพื่อนๆได้รับฟัง ในชั่วโมงต่อมาครูเปิดคลิปการศึกษาต่างประเทศ โลก 360องศาของฟินแลนด์และเกาหลีใต้ให้นักเรียนดูครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนได้เรียนรู้อะไร การศึกษาของประเทศไทยและต่างประเทศเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ครูและนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์พูดคุยสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการศึกษาของประเทศไทยและต่างประเทศ พี่บาส:ประเทศเกาหลีใต้เขาใช้การศึกษาแบบแบ่งชนชั้นกันครับ พี่ธาม:การศึกาประเทศเกาหลีใต้เน้นการใช้เทคดนโลยีที่ทันสมัยให้กับนักเรียนครับ พี่น้ำอ้อย:ประเทศฟินแลนด์เขาเน้นการสอนไปที่ครูค่ะและเน้นการสอนภาอังกฤษตั้งแต่ตอนเด็กๆ พี่แป้ง:เขาให้พ่อแม่มาเรียนรู้กับลูกๆด้วยค่ะ หลังจากที่พูดคุยสนทนาเสร็จครูให้นักเรียนแต่ละคนออกแบบและวางแผนพัฒนาการของตนเองและนำเสนอให้ครูและเพื่อนๆได้รับฟังหลังจากที่จบการนำเสนอครูและนักเรียนนั่งเป็นวงกลมพูดคุยสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกันในสัปดาห์นี้นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

    ตอบลบ