เป้าหมาย (Understanding Goal):เข้าใจความหมายความสำศัญของเวลา รวมทั้งวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงมองเห็นความสัมพันธ์ในด้านต่างๆของแต่ละยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ที่ส่งผลต่อปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งเคารพวิถีและอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างศานติ


Week3


เป้าหมายรายสัปดาห์:เข้าใจและสามารถอธิบายเรื่องราวจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ให้ผู้อื่นรับทราบได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
3
25-29
..
2559
โจทย์ : คนไทยมาจากไหน
Key  Question
คนไทยมาจากไหน?
เครื่องมือคิด
Round Robin แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอาณาจักรโบราณ
Brainstorms ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับคนไทยมาจากไหน
Show and Share นำเสนออาณาจักรโบราณในรูปแบบ Time Line 
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
- ผู้ปกครอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- อินเตอร์เน็ต
จันทร์ 2 ชั่วโมง
ชง
- ครูเล่าเรื่องอาณาจักโบราณให้นักเรียนฟัง
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับอาณาจักรโบราณ
ชง
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดคนไทยมาจากไหน
เชื่อม
ครูและนักเรียนวิเคราะห์พูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคนไทยมาจากไหน

วันอังคาร 2 ชั่วโมง
ชง
- ครูแบ่งกลุ่ม 2 กลุ่มให้นักเรียนจับฉลากเพื่อสืบค้นข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์ดังนี้
1. หลักฐานที่เป็นลายลักอักษร แผ่นหิน ใบลาน  ศิลาจารึก
2. หลักฐานทางพงศาวดาร โบสถ์  วิหาร  ห้องจดหมายเหตุ
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาแลกเปลี่ยนและวิเคราะห์เกี่ยวข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์
วันพุธ 1 ชั่วโมง
ใช้
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอในรูปแบบ  Time Line 
วันศุกร์ 3 ชั่วโมง
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด เช่น
1.นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้และเรียนรู้อย่างไร
2.ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์นี้มีอะไรบ้าง
3.นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
4.นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์นี้
5.นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
6.นักเรียนจะทำอะไรในสัปดาห์ต่อไป
ใช้
นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ตามเครื่องมือที่ต้องการ      ( Mind Mapping, เขียนบรรยาย,นิทาน,การ์ตูนช่องฯลฯ)
ภาระงาน
ครูและนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์พูดคุยสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ ข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์

ชิ้นงาน
- สมุดบันทึกความรู้สึก
-  Time Line  สรุปความเข้าใจเกี่ยวกับคนไทยมาจากไหน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 3
ความรู้ :
เข้าใจและสามารถอธิบายเรื่องราวจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ให้ผู้อื่นรับทราบได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
เลือกใช้เครื่องมือในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
- เข้าใจและมีเป้าหมายในการเรียนรู้สิ่งที่ตนเองรู้โดยให้เหตุผลอ้างอิง เพื่อเลือกหัวข้อที่สนใจในการเรียนรู้ได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวางแผนให้สอดคล้องของเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงาน
สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำปฏิทินการเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเรียนรู้และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับคนอื่นได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
- มีการจัดลำดับความสำคัญสาเหตุของปัญหาได้อย่างสมเหตุสมผล
- สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะ ICT
- อธิบายและรู้แหล่งที่มาของข้อมูลที่หลากหลาย
- เลือกใช้และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์
ทักษะการเรียนรู้
- วางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- เคารพ สิทธิ หน้าที่เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
- รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์



                  

ตัวอย่างชิ้นงาน 

ภาพกิจกรรม













1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้พี่ๆป.4 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โดยครูเปิดคลิปวีดีโอหลักฐานทางประวัติศาสตร์และเล่าเรื่องอาณาจักรโบราณให้นักเรียนฟังหลังจาที่ฟังเสร็จครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดคนไทยมาจากไหนครูและนักเรียนวิเคราะห์พูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคนไทยมาจากไหน พี่แป้ง พี่น้ำอ้อย พี่วิว: พวกคนไทยน่าจะมาจากอาณาจักรฟูนันค่ะ เราน่าจะอพยพมาจากอาณาจักรฟูนันและมาตั้งถิ่นฐานที่ประเทศไทยค่ะ หลังจากที่พูดคุยสนทนาแลกเปลี่ยนเสร็จครูให้นักเรียนแบ่งเป็นกลุ่ม 4 กลุ่มเพื่อสืบค้นหลักฐานทางประวัติสาสตร์ดังต่อไปนี้
    1. หลักฐานที่เป็นลายลักอักษร แผ่นหิน ใบลาน ศิลาจารึก
    2. หลักฐานทางพงศาวดาร โบสถ์ วิหาร ห้องจดหมายเหตุ
    หลังจากที่นักเรียนไปสืบค้นข้อมูลเสร็จครูและนักเรียนนั่งเป็นวงกลมพูดคุยแลกเปลี่ยนวิเคราะห์ข้อมูลที่นักเรียนค้นคว้ามา กลุ่มพี่บาส:ได้สืบค้นใบลาน ใบลานน้ำหมึกที่ใช้เขียนเขาเอามาจากจีนครุบทำมาจากเถ่าถ่าน เปลือกหอย และน้ำยางมะขวิดครับ กลุ่มพี่น้ำอ้อย: หนูได้โบรารสถานหนูสืบค้นจากปราสาทหินพนมรุ้งเกิดขึ้นในปีพุทธศตวรรษที่ 15-17 เกิดขึ้นในอาณาจักรทวรดีค่ะ กลุ่มพี่มิกซ์: กลุ่มหนูได้ศิลาจารึกซึ่งเกิดขึ้นเมือปีพ่อขุนรามคำแหงมหาราชค่ะสิ่งที่ใช้จารึกคือวัสดุที่แหลมคมจารึกลงบนหินค่ะ กลุ่มพี่แป้ง: กลุ่มหนูสืบค้นจากจดหมายเหตุและพงศวดารค่ะ หนูรู้ว่าจะหมายเหตุแตกต่างกับพงศาวดารคือจดหมายเหตุจะเป็นคนทั่วไปหรือราชการเป็นคนบันทึกเรื่องราวต่างๆแต่งพงศาวดารจะบันทึกโดยพระมหากษัตริย์เท่านั้นค่ะ หลังจากที่พูดคุยแลกเปลี่ยนวิเคราะห์เสร็จ ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ในสัปดาห์นี้เกิดปัญหาเนื่องจากข้อมูลที่นักเรียนค้นคว้ามายังมีข้อมูลไม่คลอบคลุมจึงศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ

    ตอบลบ